เมนู

9. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สวิตักกธรรม เเละอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ และวิตก เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ และวิตก ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[660] 1. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทํามูล (วาระที่ 2)

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วยังฌานที่เป็นอวิ-
ตักกธรรมให้เกิดขึ้น ฯลฯ ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทาง-
กาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ วิตกแล้ว ยังฌานที่เป็น
อวิตักกธรรม ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย
แก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
5. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
พึงทำอุปนิสสยปัจจัยทั้ง 3 นัย ในที่ทั้งปวง.

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วให้ทาน สมาทาน-
ศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌานที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ วิปัสสนา มรรค
อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ วิตก แล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นสวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
6. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ
อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

คือ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ
ในทุติยวาระ พึงทำบทที่เขียนไว้ทั้งหมด ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ
ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เสนาสนะ วิตก แล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา
แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ และแก่วิตก ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
7. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

คือขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 8)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 9)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[661] 1. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภหทยวัตถุนั้น วิตก ย่อม
เกิดขึ้น.
ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ